โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 46 – การออกกำลังกาย (1)

สหสัมพันธ์ (Correlation) ระหว่างความสมบูรณ์ของร่างกาย (Fitness) กับ สุขภาวะ นั้น เป็นที่รับรู้กันมานานเกินกว่าหลายพันปีแล้ว ก่อนที่การแพทย์ยุคปัจจุบัน (Modern medicine) จะได้รับการพัฒนาขึ้น ตั้งแต่สมัยของวัฒนธรรมโบราณ (Ancient civilization) ในอินเดียและจีนทางทิศตะวันออก [ของโลก] ไปจนถึงกรีซและโรมันทางทิศตะวันตก [ของโลก] การออกกำลังกายถูกมองเห็น (View) ว่าเป็นหนึ่งรูปแบบของยา (Medicine)

ระหว่าง 700 ถึง 100 ปี ก่อนคริสตศักราช ในอินเดีย มีแพทย์ชื่อ “สุศรุตต์” (Susaruta) ได้บรรยายถึงการออกกำลังกายว่าเป็น "ประการที่สำคัญสำหรับการธำรง (Preservation) สุขภาพ อย่างแน่นอน" ในจีน ตั้งแต่ 25 ปีก่อนคริสตศักราชถึง ปี 250 คริสตศักราช นายแพทย์ “ฮัว ตู่” (Hua Tou) ได้สนับสนุน (Advocate) การออกกำลังกาย เนื่องจากมีผลกระตุ้นทางหยาง (Yang) ซึ่งเป็นพลังงานอย่างหนึ่ง

ในช่วง 460 ถึง 370 ปีก่อนคริสตศักราช แพทย์กรีกชื่อ “ฮิปโปคราทีส” (Hippocrates) ซึ่งถือว่าเป็น “บิดาของวิทยาศาสตร์การแพทย์” (Father of Scientific Medicine) เขียนว่า "การรับประทานอาหาร เพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้คนอยู่ในสุขภาพดีได้ เขาต้องออกกำลังกายด้วย" เขายังเชื่อว่าความเฉื่อย (Idleness) หรือการไม่เคลื่อนไหว (Inactivity) และการบริโภคอาหารเกินขนาด (Over-eating) สามารถทำให้เกิดโรค (Disease) ได้

ในโรมันโบราณ (Ancient Rome) แพทย์ที่สำคัญที่สุดในยุคนั้น ชื่อ “กลาเดียส กาเลนุส” (Gladius Galenus) ได้สนับสนุนการออกกำลังกายในการแพทย์ ทำให้มีอิทธิพล (Influence) ต่อการปฏิบัติการแพทย์ (Medical practice) ทั่วไปในภูมิภาค (Region) อาหรับและยุโรปมานานกว่า 1,000 ปี

เช่นเดียวกัน แพทย์ในปัจจุบัน ก็รู้ดีว่าการออกกำลังกายและการรักษาความสมบูรณ์ของกาย มีผลประโยชน์ (Benefit) มากมายเกี่ยวข้องกับสุขภาพ แต่คำว่า "ฟิตเน็ส" เป็นคำที่มีความหมายกว้าง (Broad) มาก ครอบคลุมไปทั่ว (Over-arching) อันที่จริง เราสามารถแบ่งออกเป็นส่วน (Component) ย่อย ๆ เพื่อเข้าใจได้ดีว่า การออกกำลังกายเพื่อประสิทธิผลทาง “ฟิตเน็ส” ส่งผลให้มีสุขภาพดีขึ้น (Improve) ได้อย่างไรบ้าง

ขึ้นอยู่กับแหล่งข้อมูล เราแยกส่วนประกอบออกมาได้ถึง 11 ส่วน ซึ่งสรุปเป็นกลุ่มส่วนประกอบ ได้ 4 กลุ่ม กล่าวคือ ความทนทาน (Endurance), ความแข็งแรง (Strength), ความยืดหยุ่น (Flexibility), และสมดุล (Balance) ส่วนอื่น ๆ เช่น เวลาตอบสนอง (Reaction time), ความเร็ว (Speed), และความการประสานงาน (Coordination) มีความเกี่ยวข้องมากกับทักษทางกีฬา (Athletic prowess)

ความทนทานได้รับจากการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (Aerobic) ผ่านกิจกรรม เช่น การว่ายน้ำ (Swimming), วิ่งเหยาะ (Jogging), หรือขี่จักรยาน (Cycling) ความแข็งแรงเกิดจากการออกกำลังกายแบบต้านทาน (Resistance) ผ่านกิจกรรม เช่น วิดพื้น (Push-up), ดันขึ้น (Pull-up), และยกน้ำหนัก (Weight-lifting) ความยืดหยุ่นและสมดุลเกิดจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการยืด (Stretching) และการเคลื่อนไหว (Movement) แต่ละส่วนมีประโยชน์ทางสุขภาพที่อิสระ (Independent) และซ้อนทับ (Over-lapping) กัน ทำให้มีผล (Out-come) ทำให้สุขภาพดีขึ้นโดยรวม (Overall) ได้

แหล่งข้อมูล – 

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022.o Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.